May 10, 2008

Aggressively-Looking Meningioma

รูป 1 - axial CT without IV contrast ของผู้ป่วยอายุ 60 ปีที่มาด้วย first onset seizure แสดงให้เห็น extraaxial mass with calcification (ลูกศรแดง) and extensive surrounding white matter low attenuation (ลูกศรเหลือง).

รูป 2 - coronal reformatted CT ใน bone window แสดงให้เห็นว่า skull ส่วนที่อยู่ติดกับ mass มี sclerosis และ hyperostosis. เห็น calcification ใน mass ได้ชัดเจนขึ้น.

จาก CT ตรงนี้คงพอจะบอกได้คร่าวๆ ว่า lesion นั้นทำให้เกิด local brain edema มาก จนมี midline shift. ดูจากลักษณะของก้อนที่เป็น extra-axial, dense calcification และมี local hyperostosis ของ skull ก็น่าจะเป็น meningioma. ผู้ป่วยก็ได้รับการทำ MRI ต่อ

ภาพ 3 - Axial T1 contrast-enhanced MR แสดงให้เห็นว่าก้อนมี homogeneous enhancement และมีลักษณะของ dural tail เข้าได้กับ meningioma.

Pathological diagnosis: atypical meningioma (WHO grade II).

ตาม WHO classification of meningioma (2000), meningioma แบ่งเป็น 3 เกรด คือ I, II และ III. ชนิดที่พบบ่อยที่สุดคือ grade I ประมาณ​ 90%. Meningioma ส่วนใหญ่เป็น incidental finding ใน imaging study. ถ้ามีอาการมักมาด้วย seizure แบบในเคสตัวอย่างนี้. ลักษณะเฉพาะของ meningioma คือ extraaxial mass, solid homogeneous enhancement, hyperostosis อาจมี calcification และมี surrounding edema ได้มาก เช่นในผู้ป่วยรายนี้

ข้อควรรู้

  • Edema-like changes รอบ meningioma เป็นได้จาก vasogenic edema รอบตัวก้อน และ cerebral gliosis เนื่องจากมี prolonged brain compression และอาจไม่หายไปหลังการผ่าตัดก็ได้
  • Atypical meningioma เป็นคำบรรยายทาง pathology ที่ไม่จำเป็นต้อง correspond กับภาพ CT หรือ MRI
  • ควรทำ MR venography ในกรณีที่ก้อนอยู่ใกล้กับ dural venous sinus เพื่อดูว่ามี narrowing หรือ occlusion ของ cerebral veins and sinuses ข้อมูลนี้มีประโยชน์ต่อการวางแผนผ่าตัด
  • Meningioma ที่ skull base และ sphenoid ridge มีโอกาส recurrent หลังการผ่าตัดบ่อยมากกว่าที่ convexity
Reference:
Whittle IR, et al. Meningiomas. Lancet (May 2004)

No comments:

Post a Comment

ShareThis